คาร์บอนเครดิตคืออะไร แลกเปลี่ยนได้อย่างไร

พูดคุยเรื่อง ที่อยู่ ที่พักอาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนท์ ที่อยู่อาศัย กำลังจะซื้อ หรือซื้อแล้ว พูดคุยเรื่องที่อยู่ของตัวเองกันได้ที่นี่ จะปลูกต้นไม้ จัดสวน หรือการดูแล รักษาบ้านเรา ปรึกษาเพื่อนๆ ได้

Moderator: ลุงหนวด

smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

คาร์บอนเครดิตคืออะไร แลกเปลี่ยนได้อย่างไร

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 16 ต.ค. 2023 11:45 am

จากปัญหาภาวะโลกร้อน (Global warming) เปลี่ยนเป็น ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) แสดงถึงความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกำลังส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากมายบนโลกจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น กลายเป็นภัยจากธรรมชาติที่กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มปริมาณของ "ก๊าซเรือนกระจก" อันได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน,ไนตรัสออกไซด์, ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน, เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน, ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีส่วนทำให้เกิด "ก๊าซเรือนกระจก" นี้ เพื่อร่วมกันชะลอปัญหาภาวะโลกร้อนจึงเกิดมาตรร่วมกันของหลายประเทศทั่วโลก โดยใช้ "คาร์บอนเครดิต" และ “ตลาดคาร์บอนเครดิต” มาช่วยแก้ไขปัญหานี้ แล้วจะช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร

[size=large]"คาร์บอนเครดิต" (Carbon Credit) คือ [/size]

"คาร์บอนเครดิต" คือ สิทธิที่บุคคลหรือองค์กรได้รับจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟรุตพรินต์) ในแต่ละปี ซึ่งหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ปริมาณคาร์บอนที่เหลือก็จะถูกนำมาตีราคา และสามารถนำไปจำหน่ายในรูปแบบคาร์บอนเครดิต ให้กับองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการได้ "คาร์บอนเครดิต" จึงเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

"คาร์บอนเครดิต" ได้ถูกนำมาใช้เพื่อกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย เพื่อช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ และกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากการทำโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบในระดับโครงการ จะมีหน่วยเป็น "ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า" ที่ได้จากโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ โครงการผลิตพลังงานความร้อนโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน โครงการปลูกป่าไม้และอนุรักษ์ป่า เป็นต้น

ซึ่ง "คาร์บอนเครดิต" ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของแต่ละมาตรฐานในการทำโครงการ กรณีของประเทศไทย "คาร์บอนเครดิต" คือ ใบรับรองปริมาณความสำเร็จในโครงการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER ) ที่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ ทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอก และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก จึงจะได้รับรองผลการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ "คาร์บอนเครดิต" ผู้พัฒนาโครงการจึงจะสามารถนำคาร์บอนเครดิตนี้ไปขายในตลาดคาร์บอนได้


[size=large]"ตลาดคาร์บอนเครดิต" คือ [/size]
"ตลาดคาร์บอนเครดิต" เป็นจุดนัดพบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ลงทุนหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายตรงกันด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม พื้นที่กลางสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อ–ขาย "คาร์บอนเครดิต" เป็นตัวกลางนำสินค้าที่เรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน มีการกำหนดราคาสินค้าบนพื้นฐานของการคำนึงถึงปริมาณการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม


[size=large]ตลาดคาร์บอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท[/size]

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market)
เกิดขึ้นจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย ผู้ที่เข้าร่วมในตลาดจะต้องมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย หากผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะถูกลงโทษ ผู้ที่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หรือขึ้นอยู่กับการบัญญัติกฎหมาย


2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)
เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ โดยอาจจะมีการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองโดยสมัครใจ ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย กรณีที่องค์กรใดที่สมัครใจดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการดังกล่าวสามารถนำมาขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด

สำหรับ"ตลาดคาร์บอนเครดิต"ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization :TGO) ภายใต้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการดังกล่าว จะเรียกว่า “เครดิต TVERs” สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ผ่านปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint)


[size=large]ประโยชน์ของ "คาร์บอนเครดิต"[/size]

- ช่วยให้เกิดร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการส่งเสริมการปลูกป่า ทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

- ในระยะยาวช่วยให้ทุกภาคส่วนช่วยกันมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น โดยภาคธุรกิจจะขยายการลงทุนให้กลุ่มพลังงานทดแทน, พลังงานสะอาด, เทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการส่งเสริมภาคเกษตรกรของชุมชน สนับสนุนการปลูกป่าเพื่อสร้างพื้นที่การดูดซับคาร์บอนมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันทั่วโลกมีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตกันมากกว่า 7 พันล้านตันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความหวังที่จะชะลอปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกคนบนโลกเท่านั้นที่ต้องช่วยกัน

ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสำหรับรายย่อย บ้านอยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม ที่รับความเสียหายจาก ภัยจากไฟไหม้ ภัยจากฟ้าผ่าภัยจากการระเบิดทุกชนิด ยกเว้นการก่อการร้าย และ คุ้มครองภัยลมพายุ น้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว และภัยจากลูกเห็บ หรือ ทุกภัยรวมกัน
สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 1 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน