การเดินทางไป วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

ตอบกระทู้


คำถามนี้ เพื่อป้องกันการส่งแบบอัตโนมัติจากสแปมบอท
รูปแสดงอารมณ์
:) ;) :D ;D >:( :( :o 8) ??? ::) :P :-[ :-X :-\ :-* :'( >:D ^-^ O0

BBCode เปิด
[img] เปิด
[flash] ปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: การเดินทางไป วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

Re: การเดินทางไป วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

โพสต์ โดย ลุงหนวด » จันทร์ 18 ก.ค. 2016 12:47 pm

ข้อมูลจาก: ayutthaya.go.th

Re: การเดินทางไป วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

โพสต์ โดย ลุงหนวด » จันทร์ 18 ก.ค. 2016 12:46 pm

ดูภาพเส้นทางหลัก ถ้ามาจากทางโลตัส
รูปภาพ

การเดินทางไป วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

โพสต์ โดย ลุงหนวด » จันทร์ 18 ก.ค. 2016 12:45 pm

การเดินทางไป วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา
รูปภาพ
พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081
สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งวิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์
เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิพระมงคลบพิตร โทร.0-3524-1689
ที่ตั้ง: วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ ถ.คลองท่อ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ประวัติ
สันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นรูปร่างคล้ายๆมณฑป

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติกับพวก ได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี โดยจะออกแบบให้ปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น แต่ด้วยเวลานั้นรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณพร้อมในการดำเนินการ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ในคราวบูรณะพระมงคลบพิตรในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรุปบรรจุไว้ในพระอุระด้านขวา เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม


ข้อมูลทั่วไป วิหารพระมงคลบพิตร เวลาเปิดปิด ต้องไปช่วงกลางวันนะครับ
ที่ตั้ง ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระประธาน พระมงคลบพิตร พระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ โบราณสถาน
เวลาทำการ เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30
จุดสนใจ พระมงคลบพิตรที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร

ข้างบน