จัดลำดับ การเกิดรถไฟ ในประเทศ เพื่อนบ้านเรา อินโดนีเซีย ปี 2410

รวมความรู้ ทิป และเทคนิคทั่วไป
pantip
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 472
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 12:50 am
ติดต่อ:

จัดลำดับ การเกิดรถไฟ ในประเทศ เพื่อนบ้านเรา อินโดนีเซีย ปี 2410

โพสต์โดย pantip » จันทร์ 23 ก.ย. 2019 8:17 pm

รถไฟในประเทศกลุ่มอาเซียนด้วยกัน เริ่มมีมากันตอนไหน
ประเทศใดคือประเทศที่มีรถไฟใช้ประเทศแรกกันแน่

เราจะว่ากันด้วยรถไฟพื้นฐาน (Conventional Train) นะครับ
รถไฟลำดับการเกิด.png
รถไฟลำดับการเกิด.png (93.79 KiB) เปิดดู 1259 ครั้ง

มาดูตามทามไลน์นี้เลยครับ

เราจะไล่จากประเทศแรกไปจนประเทศล่าสุดที่มีครับ

ประเทศที่ 1 อินโดนีเซีย ปี 2410
มีก่อนชาวบ้านเค้าเลยครับผม ตั้งแต่ปี 2410
สถานะปัจจุบันคือเดินรถโดย PTKAI เป็นรถไฟขนาดความกว้างทาง 1.067 ม. มีทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟดีเซล (รถดีเซลเยอะกว่ารถไฟฟ้า) ซึ่งรถไฟในประเทศนี้ไม่มีตู้นอน มีเพียงแค่รถปรับเอน ส่วนนโยบายด้านการบริการดีมากๆ คือ ใช้ผู้โดยสารเป็นศูนย์กลางและพัฒนาระบบต่างๆ จาก Requirement ของผู้โดยสาร

ประเทศที่ 2 เมียนมา ปี 2420
อังกฤษสร้างรถไฟให้เมียนมาครับ และเป็นประเทศที่มีความยาวรถไฟรวมมากที่สุดในอาเซียนคือ 5,000 กว่ากิโลเมตร ใช้ทางกว้างขนาด 1.000 ม.
โดยสถานะปัจจุบันบริหารงานโดย Myanma Railways (MR) เป็นรถดีเซลล้วน และยังมีรถจักรไอน้ำวิ่งอยู่บางสายครับ โดยรถไฟในเมียนมานั้นส่วนใหญ่เป็นรถไฟมือสองจากญี่ปุ่น (ในย่างกุ้ง) ส่วนตามภูมิภาคนั้นเป็นรถไฟพัดลม มีตู้นอนพัดลม และหัวรถจักรรุ่นล่าสุดนั้นเป็นการซื้อจากจีนแต่ตั้งโรงงานผลิตในเนปยีดอว์

ประเทศที่ 3 เวียดนาม ปี 2423
เวียดนามเป็นประเทศที่ระบบทางรถไฟไม่ซับซ้อน คือยาวจากเหนือจรดใต้ ใช้ทางกว้างขนาด 1.000 และบางส่วนที่เชื่อมจีนใช้ 1.435 ซึ่งทางรถไฟในเวียดนามนั้นไม่มีทางคู่เลย ทางเดี่ยวล้วนๆ โดยทางบางจุดที่ติดทะเลนั้นสวยมากกกกก
สถานะปัจจุบัน ดำเนินงานโดย VNR เป็นรถระบบดีเซลล้วนๆ ครับ มีทั้งรถนั่งและรถนอน โดยรวมแล้วตัว Service ถือว่าโอเคนะ มีความสะอาดและน่านั่ง ส่วนตัวอยากลองนั่งรถไฟเวียดนาม

ประเทศที่ 4 มาเลเซียและสิงคโปร์ ปี 2428
ประเทศเพื่อนบ้านเราที่เชื่อมรถไฟกับเราเป็นประเทศแรก โดยอังกฤษเป็นคนปูรากฐานให้ ใช้ทางกว้างขนาด 1.000 ม. มีทางรถไฟ 2 สายคือด้านตะวันออกและตะวันตก
สถานะปัจจุบันดำเนินงานโดย KTMB มีระบบรถไฟฟ้าและรถไฟดีเซล ซึ่งโครงข่ายรถไฟฟ้ามีมากและยาวที่สุดในอาเซียนครับ โดยมาเลเซียเปลี่ยนรถไฟโดยสารจากใช้รถจักรลากรถพ่วงมาเป็นรถ EMU เป็นหลักประเทศแรกในอาเซียนด้วย เรื่องโครงสร้างพื้นฐานถือว่าเปย์หนักมาก ลงทุนหนักมาก แต่ในเรื่องเซอร์วิสมายด์บางพื้นที่นั้นยังสู้บางประเทศในอาเซียนไม่ค่อยได้ ซึ่งมาเลเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจะขยับมาเป็นที่ 1 ของอาเซียนได้ไม่ยาก แต่ขอให้ลดความอินดี้ในการเปลี่ยนตารางเวลารถไฟหน่อย เปลี่ยนบ่อยจนตามไม่ทันเลยพ่อเอ๊ย

ส่วนสิงคโปร์นั้นใช้รถไฟของ KTMB เดินรถจาก JB Sentral ไป Woodlands ครับ (เดิมถึงสถานี Singapura)

ประเทศที่ 5 ฟิลิปปินส์ ปี 2435
ประเทศนี้เป็นเกาะ ใช้ทางกว้างขนาด 1.067 เท่าอินโดนีเซีย เชื่อมใครไม่ได้ จริงๆ ผมไม่ค่อยรู้จักรถไฟฟิลิปปินส์มากเท่าไหร่ รู้แค่ว่าทั้งหมดเป็นรถไฟดีเซลครับ และมีเส้นทางไม่มาก ทางโทรม และมีผู้บุกรุกเยอะ โดยส่วนใหญ่เน้นใช้เดินทางเป็นรถไฟชานเมืองในมะนิลา สถานะปัจจุบันดำเนินงานโดย PNR ครับ

ประเทศที่ 6 ไทย ปี 2436 (รถไฟเอกชน) และ 2439 (นับปฏิทินปัจจุบันคือ 2440)
ตามที่ทราบกันดีว่ารถไฟสายแรกเป็นของเอกชนคือสายปากน้ำ และเปิดสายของรัฐในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น ตอนนั้นไทยได้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดและมีการตลาดที่ดีมาก แต่ไทยแลนด์ก็คือไทยแลนด์คือเปิดสวยมาก พอถึงจุดสั่นคลอนแล้ว keep ไว้ไม่ค่อยอยู่ เลยถดถอยลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วก็นิ่งมานานจนตอนนี้เริ่มขยับเมื่อรู้สึกว่าเออฉันควรพัฒนารถไฟในบ้านฉันได้แล้วนะ

โดยสถานะปัจจุบันดำเนินการโดย รฟท. (SRT) ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้น 100%
ทางรถไฟของเราใช้ความกว้างขนาด 1.000 เป็นรถไฟดีเซล และกำลังจะมีรถไฟฟ้าระยะสั้นๆ ในกรุงเทพฯ (สายสีแดง) ตอนนี้ว่ากันตรงๆ คืออยู่ระหว่างการฟื้นตัวเองให้แข็งแรงมากขึ้น (หลังจากช็อคชะงักมานาน) อาจจะดูสมบุกสมบันทุลักทุเลในช่วงเปลี่ยนถ่ายหน่อย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในบรรดารถไฟของอาเซียนรถไฟตู้นอนของเราน่าจะดีที่สุดแล้วทั้งรูปลักษณ์และบริการครับ ซึ่งถ้าหากโครงการต่างๆ เสร็จแล้วรถไฟไทยน่าจะกลับมาเป็นชั้นแนวหน้าของอาเซียนได้อีกครั้ง ก็ไปสู้กับมาเลเซียและอินโดนีเซียกันนะจ๊ะว่าจะสู้ในเรื่องกลยุทธ์ต่างๆ ต่อไปได้มากแค่ไหน จะทันเขาหรือไม่ แม้ว่าเรื่องโครงสร้างจะเริ่มทันแล้วก็ตาม

ประเทศที่ 7 กัมพูชา ปี 2472
เดิมเลยฝรั่งเศสปูทางให้ แล้วพอถึงช่วงเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นกับไทยก็มาจัดการต่อให้ มีปัญหาเรื่องพื้นที่ที่ชักเข้าชักออกหลายรอบ จนนับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางรถไฟค่อนข้างไม่แน่นอนที่สุด ปิดๆ เปิดๆ หลายรอบ
ปัจจุบันโครงสร้างทางเป็นของกระทรวงโยธาธิการฯ ส่วนการเดินรถนั้นเป็นของเอกชนมาสัมปทานชื่อว่า Royal Railway โดยทางสายใต้ (พนมเปญ - สีหนุวิลล์) มีรถวิ่งเยอะและโอเคกว่าสายเหนือ (พนมเปญ - ปอยเปต) หลายเท่าตัวอยู่ ซึ่งกัมพูชาตอนนี้อยู่ระหว่างการฟื้นกิจการรถไฟจริงๆ ครับ ขอเป็นกำลังใจให้

ประเทศที่ 8 สปป.ลาว ปี 2552
น้องใหม่ล่าสุดที่เดบิวต์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยไทยเป็นผู้วางรากฐานให้ และมีทางรถไฟสั้นที่สุดในอาเซียนคือ 3.5 กม. (ไม่นับสิงคโปร์นะ) โดยรถไฟที่ลาวใช้เป็นของ รฟท. ซ่งกรมทางรถไฟลาว (LRA) เป็นผู้ให้บริการด้านการขายตั๋วโดยสาร แต่พนักงาน รฟท.ขับรถ และเป็นพนักงานรักษารถ
โดยในอนาคตนั้นลาวจะมีรถไฟลาว-จีน โดยความร่วมมือระหว่างลาว-จีน จากบ่อเต็น - ท่านาแล้ง และเชื่อมกับไทยโดยเป็นทางกว้างขนาด 1.435 ความเร็ว 160 กม./ชม. ทางเดี่ยว ที่เรียกกันว่าความเร็วปานกลางนั่นแหละ (ใครบัญญัติคำนี้มาก็ไม่รู้) โดยผู้เดินรถนั้นยังไม่ชัวร์ว่าจะเป็นฝ่ายลาวหรือจีน

นี่ก็คือสูติบัตรของรถไฟในอาเซียนว่าใครเป็นพี่ใครเป็นน้อง และสถานะปัจจุบันเป็นอย่างไรครับ

สำหรับรายละเอียดแบบไม่คร่าวๆ ผมจะไปศึกษาเพิ่มให้มากขึ้นในรายละเอียดต่างๆ แล้วจะมาสรุปให้อีกครั้งนึงครับผม

ปล. คงไม่ต้องพูดกันว่าไทยมีรถไฟเป็นชาติแรกกันแล้วเนอะ

By: ทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 57 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน