ทำความรู้จัก Flood Board หรือ Stop Log ตัวช่วยขั้นสุดท้าย ป้องกันน้ำท่วม รถไฟฟ้าใต้ดิน

รวมความรู้ ทิป และเทคนิคทั่วไป
pantip
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 472
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 12:50 am
ติดต่อ:

ทำความรู้จัก Flood Board หรือ Stop Log ตัวช่วยขั้นสุดท้าย ป้องกันน้ำท่วม รถไฟฟ้าใต้ดิน

โพสต์โดย pantip » พุธ 16 ต.ค. 2019 3:16 pm

ทำความรู้จัก Flood Board หรือ Stop Log ตัวช่วยขั้นสุดท้าย ป้องกันน้ำท่วม รถไฟฟ้าใต้ดิน

ข่าวพายุฮากีบิสเข้าถล่มญี่ปุ่นที่ผู้คนทั่วโลกเอาใจช่วย ทำให้เราได้เห็นมาตรการป้องกันภัยที่รอบคอบ รัดกุม จนมีเสียงชื่นชมในมาตรการรับมือภัยพิบัติ ซึ่งช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมทั้งการอพยพผู้คนและด้านระบบขนส่ง เมื่อหันกลับมามองบ้านเรา พบว่ายังมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า ระบบรถไฟใต้ดินของไทยเรานั้นก็มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมอุโมงค์เช่นกัน แม้จะไม่ทันสมัยเท่า Flood Board ระบบอัตโนมัติของญี่ปุ่น แต่ระบบป้องกันน้ำท่วมได้ถูกออกแบบป้องกันไว้แล้วตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง และยังมีการฝึกซ้อมติดตั้งอยู่เป็นประจำ มั่นใจได้ว่าหากมีเหตุการณ์น้ำท่วมสูง น้ำจะไม่เข้าสถานีแน่นอน ซึ่งการออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วมสถานี จะมีการออกแบบไว้ถึง 2 ขั้น

ขั้นแรก ความสูงของบันไดทางขึ้นสถานีออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน กทม. บันทึกย้อนหลังไป 200 ปี
ก่อนจะลงบันไดเลื่อนที่ทางเข้าที่ทางเข้าสถานีใต้ดินทุกสถานี จะมีบันไดขึ้นไปสูงพอสมควร ซึ่งความสูงนี้ออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน กทม. บันทึกย้อนหลังไป 200 ปี และยังเผื่อไว้ให้สูงกว่าอีก 1 เมตร ดังนั้น ต่อให้น้ำมาขนาดไหน ก็ไม่ท่วมเข้าไปภายในสถานีอย่างแน่นอน

ขั้นที่สอง Flood Board หรือ Stop Log เพื่อป้องกันน้ำท่วม ในกรณีระดับน้ำสูงกว่าระดับสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ที่บริเวณซุ้ม ทางเข้าสถานี ตรงที่ติดประตูบานเหล็กม้วน หรือ Roller Shutter จะมีจุดติดตั้ง Flood Board หรือ Stop Log เพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประเมินแล้วว่า ระดับน้ำอาจจะสูงกว่าระดับน้ำสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ จะดำเนินการติดตั้ง Flood Board ที่ทางเข้าเพิ่มเติม โดยนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา ตัว Flood Board เคยมีการติดตั้งเพื่อใช้งานจริงเพียงครั้งเดียวในช่วงปลายปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง แต่ระดับน้ำที่ท่วมในเขตที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินตั้งอยู่ ก็ยังมีระดับไม่สูงเกินกว่าขั้นบันได

ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ของ สสวท. หมวดวิทยาศาสตร์รอบตัว ยังเคยเผยแพร่บทสัมภาษณ์ผู้จัดการหมวดงานควบคุมการเดินรถ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ไว้ว่า ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน วิศวกรจะต้องคำนึงถึงจุดที่น้ำสามารถเข้าไปได้ ซึ่งมีอยู่ 3 จุด จุดแรกคือ ทางเข้าทาง-ออกสถานี จุดที่ 2 คือ อาคารระบายอากาศ และ จุดที่ 3 คือ จุดที่รถไฟฟ้าใช้ในการขึ้นลงเพื่อซ่อมบำรุง ทั้ง 3 จุดนี้จะก่อสร้างโดยยกทางเข้า-ออกให้สูงเท่ากับระดับที่น้ำเคยท่วมสูงที่สุดเฉลี่ย 200 ปี

นอกจากนั้นยังมีแผ่นเหล็กที่ใช้กั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งจะใช้แผ่นเหล็กสูงประมาณ 1 เมตร ทำให้น้ำจะเข้าไปในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณทางเข้า-ออก หรืออาคารระบายอากาศนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะน้ำต้องท่วมสูงมาก ๆ จึงจะสามารถเข้าไปในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้ โดยปกติในส่วนของอุโมงค์ก็มียางกันซึม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในอุโมงค์ เพราะน้ำสามารถซึมเข้าทางด้านรอยต่อของ concrete segment ได้ ซึ่งหากมีน้ำซึมเข้ามาในอุโมงค์ ก็จะมีเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งไว้เป็นระยะตลอดความยาวของอุโมงค์ และตามสถานีต่าง ๆ จะสูบน้ำทิ้งลงที่จุดระบายน้ำของกรุงเทพฯ

โดยทุกแห่งของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะมีอาคารแท่งสูงสี่เหลี่ยมอยู่ ซึ่งอาคารที่ว่าคืออาคารระบายอากาศของอุโมงค์และสถานี รวมทั้งทำหน้าที่เป็นทางออกฉุกเฉินของผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับขึ้นสู่ผิวดินได้

ที่มา: fb Surakij Chuangchote‎ Thailand Electrified Train Club

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 47 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน