ปลูกต้นเกาลัด ไม้ยืนต้น วิธีการคัดพื้นที่ พันธุ์เกาลัด การใช้ปุ๋ย
1. การผลิตเกาลัดที่มีคุณภาพดี
1.1 การคัดเลือกพื้นที่
- พื้นที่ควรสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร เนื่องจากเกาลัดเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในที่มีอุณหภูมิต่ำ
- ดินมีความร่วนซุย การระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง หากเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ หรือผักมาก่อนให้ปรับปรุงฟื้นฟูสภาพดินก่อน
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือระบบน้ำที่สามารถให้ช่วงฤดูแล้ง
- หากพื้นที่มีลักษณะลาดเอียงให้ทำขั้นบันไดหรือคันคูรับน้ำตามไหล่เขาเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน
1.2. พันธุ์เกาลัด ควรใช้พันธุ์ดีที่ได้มีการปลูกทดลองแล้วจากกรมวิชาการเกษตร ได้แก่
- พันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 2 (MCL 22/29-016)
- พันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 3 (MCL 73/9-019)
- พันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 4 (MCL 7/19-032)
- พันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 6 (MCL 20/26-015)
- พันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 7 (MCL 8/17-031)
- พันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 8 (MCL 19/26-067)
- พันธุ์วาวี เบอร์ 1
- พันธุ์วาวี เบอร์ 2
- พันธุ์วาวี เบอร์ 3
โดยขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบยอดจะได้ต้นที่มีลักษณะตรงตามแม่พันธุ์และแข็งแรง เจริญเติบโตเร็วแหล่งต้นพันธุ์เกาลัดพันธุ์ดีที่มีผลิตจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ได้แก่ สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี โทรศัพท์ (053) 714439 , สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง (เชียงใหม่) โทร. (053) 432207
1.3. การปลูก
ฤดูที่เหมาะสมคือช่วงต้นฤดูฝน โดยใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร หรือพื้นที่ลาดเอียงมากให้ใช้ระยะ 6x6 เมตร ขุดหลุมขนาด 1x1x1x เมตร ปรับปรุงดินและทิ้งไว้เพื่อให้มีการหมักสมบูรณ์ประมาณ 1-3 เดือนแล้วแต่สภาพดิน หลังปลูกควรให้น้ำหากฝนไม่ตก และหาวัสดุพรางแสงให้ช่วงที่ต้นเกาลัดยังไม่ตั้งตัว ทั้งนี้การปลูกเกาลัดอย่างน้อย 2 สายพันธุ์ในแปลงเดียวกัน โดยปลูกสลับสายพันธุ์เพื่อให้มีการผสมเกสรและการติดผลดีขึ้น
ปลูกต้นเกาลัด ไม้ยืนต้น วิธีการคัดพื้นที่ พันธุ์เกาลัด การใช้ปุ๋ย
-
- Jr. Member
- โพสต์: 78
- ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 06 มิ.ย. 2012 3:45 pm
-
- Jr. Member
- โพสต์: 78
- ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 06 มิ.ย. 2012 3:45 pm
Re: ปลูกต้นเกาลัด ไม้ยืนต้น วิธีการคัดพื้นที่ พันธุ์เกาลัด การใช้ปุ๋ย
1.4. การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นเกาลัดเจริญเติบโตเต็มที่ สำหรับชนิดและปริมาณที่แนะนำ ได้แก่
แสดงชนิดและปริมาณการใส่ปุ๋ยเกาลัดตามอายุ
อายุต้น : 4-6 เดือน
สูตรปุ๋ย :15-15-15
ปริมาณ/ต้น/ปี :100 กรัม
อายุต้น : อายุ 1 ปี
สูตรปุ๋ย :15-15-15 ผสม 46-0-0
ปริมาณ/ต้น/ปี :100 กรัม + 120 กรัม
อายุต้น : อายุ 2 ปี
สูตรปุ๋ย :15-15-15 ผสม 46-0-0
ปริมาณ/ต้น/ปี :300 กรัม + 240 กรัม
อายุต้น : อายุ 3 ปี
สูตรปุ๋ย :15-15-15 ผสม 46-0-0
ปริมาณ/ต้น/ปี :1,500 กรัม + 360 กรัม
อายุต้น : อายุ 4 ปี
สูตรปุ๋ย :12-12-17-2 ผสม 46-0-0 และเพิ่มปุ๋ยโปแตสซียมคลอไรด์
ปริมาณ/ต้น/ปี :3,000 กรัม + 480 กรัม + 300 กรัม
หมายเหตุ - ควรแบ่งใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (ม.ค.-ก.พ.) ครั้งที่ 2 (พ.ค.-มิ.ย.) และครั้งที่ 3 (ก.ค.-ส.ค.)
- ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ใส่ทุกปีและในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องผสมปุ๋ยคอกใส่ควบคู่ไปด้วยที่อัตราเริ่มต้น 5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
1.5. การให้น้ำ เกาลัดเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่ในช่วงเริ่มปลูกและช่วงให้ผลผลิตควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
1.6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกาลัดเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีสัตรูพืชรบกวนมาก ศัตรูที่พบได้แก่ หนอนเจาะลำต้น และหนอนกินช่อดอก ควรมีการป้องกันกำจัดอย่างสม่ำเสมอ 1.7. การกำจัดวัชพืช ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเริ่มปลูกเนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งธาตุหาร และเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง
1.8. การตัดแต่งกิ่ง เพื่อควบคุมทรงพุ่มให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและดูแลรักษา แต่เนื่องจากเกาลัดจะออกดอกติดผลในกิ่งใหม่ที่เจริญเติบโตในฤดูฝนที่ผ่านมา ยิ่งกิ่งใหม่ปริมาณมากนั่นหมายถึงปริมาณช่อดอกก็จะมากด้วย ต้นที่ไม่มีการตัดแต่งจะออกดอกได้เร็วกว่าต้นที่ตัดแต่งหลายๆครั้ง ดังนั้นเมื่อต้นเกาลัดเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ให้ตัดแต่งเพียงเล็กน้อยโดยเลือกกิ่งด้านใน กิ่งเป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งแกหัก หรือกิ่งที่ซ้อนทับกันมากเกินไป เพื่อให้แสงสว่างส่องถึงภายในทรงพุ่ม การตัดแต่งควรทำหลังการเก็บเกี่ยวทันทีเพราะเป็นช่วงฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) เพื่อให้ต้นเกาลัดแตกกิ่งใหม่ออกมาได้ทัน เพราะต้นเกาลัดจะมีการพักตัวและทิ้งใบหมดในเดือนกันยายน
1.9. การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา เกาลัดจะเริ่มให้ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปี โดยผลเกาลัดจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ความชื้นสูง จึงมักประสบปัญหาการเน่าเสีย ได้เมล็ดที่มีคุณภาพต่ำ จึงควรปฏิบัติดังนี้
- ใช้การสอยเก็บผลเกาลัดแทนการปล่อยให้ร่วงลงพื้นดินแล้วจึงเก็บ หรือหากปล่อยให้ร่วงก่อนก็ต้องเก็บผลที่ร่วงภายใน 1-2 วัน
- เมื่อเก็บผลเกาลัดมาแล้วนำมาทำความสะอาดและผึ่งในที่ร่มให้แห้งประมาณ 1 วัน ให้ความชื้นลดลงเหลือ 10% หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วใส่ในถุงตาข่ายนำเข้าห้องเย็นทันที หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิปกติเมล็ดเกาลัดจะเน่าเสียจากเชื้อราได้ง่าย สำหรับอุณหภูมิในห้องเย็นประมาณ 4-5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% (หากความชื้นต่ำมากเกินไปเนื้อในเมล็ดเกาลัดจะแห้งแข็งไม่สามารถบริโภคได้) ทำเช่นนี้จะสามารถเก็บรักษาเกาลัดได้นานหลายเดือน
2 การผลิตเกาลัดที่ปลอดภัยจากสารพิษ
2.1. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น วิธีกล วิธีการเขตกรรม วิธีชีวภาพ รวมทั้งวิธีใช้สารเคมี ทั้งนี้พยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด
2.2. หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ถ้ามีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ให้เลือกใช้ในชนิด อัตรา และระยะเวลาตามคำแนะนำ และปฏิบัติตามคู่มือวิธีการใช้อย่างเคร่งครัด
- งดใช้สารเคมีที่ขึ้นชื่อเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ทางการเกษตร ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2534 อีกทั้งใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้ได้
- ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวเกาลัดตามเวลาที่ระบุในคำแนะนำ
- บันทึกข้อมูลรายละเอียดในการใช้สารเคมีเป็นหลักฐานไว้ทุกครั้งที่มีการใช้สาร
สรุปคำแนะนำการใช้สารเคมีและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการผลิตเกาลัด
ชนิดศัตรูพืช : 1. หนอนเจาะลำต้น
ชนิดสารเคมี/การป้องกันกำจัด: พบมาในช่วงฤดูแล้ง ใช้สารในกลุ่มสะเดาฉีดพ่นให้ทั่วและกำจัดตัวเต็มวัย(ผีเสื้อกลางคืน) โดยใช้ไฟล่อแมลง
ชนิดศัตรูพืช : 2. หนอนกัดกินช่อดอก
ชนิดสารเคมี/การป้องกันกำจัด: เข้าทำลายมากช่วงระยะดอกบาน ใช้คาราเต้หรือเซฟวิน 85 อัตราตามคำแนะนำ ฉีดพ่นเมื่อพบการทำลายเสียหายมาก
แสดงชนิดและปริมาณการใส่ปุ๋ยเกาลัดตามอายุ
อายุต้น : 4-6 เดือน
สูตรปุ๋ย :15-15-15
ปริมาณ/ต้น/ปี :100 กรัม
อายุต้น : อายุ 1 ปี
สูตรปุ๋ย :15-15-15 ผสม 46-0-0
ปริมาณ/ต้น/ปี :100 กรัม + 120 กรัม
อายุต้น : อายุ 2 ปี
สูตรปุ๋ย :15-15-15 ผสม 46-0-0
ปริมาณ/ต้น/ปี :300 กรัม + 240 กรัม
อายุต้น : อายุ 3 ปี
สูตรปุ๋ย :15-15-15 ผสม 46-0-0
ปริมาณ/ต้น/ปี :1,500 กรัม + 360 กรัม
อายุต้น : อายุ 4 ปี
สูตรปุ๋ย :12-12-17-2 ผสม 46-0-0 และเพิ่มปุ๋ยโปแตสซียมคลอไรด์
ปริมาณ/ต้น/ปี :3,000 กรัม + 480 กรัม + 300 กรัม
หมายเหตุ - ควรแบ่งใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 (ม.ค.-ก.พ.) ครั้งที่ 2 (พ.ค.-มิ.ย.) และครั้งที่ 3 (ก.ค.-ส.ค.)
- ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ใส่ทุกปีและในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องผสมปุ๋ยคอกใส่ควบคู่ไปด้วยที่อัตราเริ่มต้น 5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
1.5. การให้น้ำ เกาลัดเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี แต่ในช่วงเริ่มปลูกและช่วงให้ผลผลิตควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
1.6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกาลัดเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีสัตรูพืชรบกวนมาก ศัตรูที่พบได้แก่ หนอนเจาะลำต้น และหนอนกินช่อดอก ควรมีการป้องกันกำจัดอย่างสม่ำเสมอ 1.7. การกำจัดวัชพืช ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเริ่มปลูกเนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งธาตุหาร และเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง
1.8. การตัดแต่งกิ่ง เพื่อควบคุมทรงพุ่มให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและดูแลรักษา แต่เนื่องจากเกาลัดจะออกดอกติดผลในกิ่งใหม่ที่เจริญเติบโตในฤดูฝนที่ผ่านมา ยิ่งกิ่งใหม่ปริมาณมากนั่นหมายถึงปริมาณช่อดอกก็จะมากด้วย ต้นที่ไม่มีการตัดแต่งจะออกดอกได้เร็วกว่าต้นที่ตัดแต่งหลายๆครั้ง ดังนั้นเมื่อต้นเกาลัดเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ให้ตัดแต่งเพียงเล็กน้อยโดยเลือกกิ่งด้านใน กิ่งเป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งแกหัก หรือกิ่งที่ซ้อนทับกันมากเกินไป เพื่อให้แสงสว่างส่องถึงภายในทรงพุ่ม การตัดแต่งควรทำหลังการเก็บเกี่ยวทันทีเพราะเป็นช่วงฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) เพื่อให้ต้นเกาลัดแตกกิ่งใหม่ออกมาได้ทัน เพราะต้นเกาลัดจะมีการพักตัวและทิ้งใบหมดในเดือนกันยายน
1.9. การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา เกาลัดจะเริ่มให้ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปี โดยผลเกาลัดจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ความชื้นสูง จึงมักประสบปัญหาการเน่าเสีย ได้เมล็ดที่มีคุณภาพต่ำ จึงควรปฏิบัติดังนี้
- ใช้การสอยเก็บผลเกาลัดแทนการปล่อยให้ร่วงลงพื้นดินแล้วจึงเก็บ หรือหากปล่อยให้ร่วงก่อนก็ต้องเก็บผลที่ร่วงภายใน 1-2 วัน
- เมื่อเก็บผลเกาลัดมาแล้วนำมาทำความสะอาดและผึ่งในที่ร่มให้แห้งประมาณ 1 วัน ให้ความชื้นลดลงเหลือ 10% หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วใส่ในถุงตาข่ายนำเข้าห้องเย็นทันที หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิปกติเมล็ดเกาลัดจะเน่าเสียจากเชื้อราได้ง่าย สำหรับอุณหภูมิในห้องเย็นประมาณ 4-5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% (หากความชื้นต่ำมากเกินไปเนื้อในเมล็ดเกาลัดจะแห้งแข็งไม่สามารถบริโภคได้) ทำเช่นนี้จะสามารถเก็บรักษาเกาลัดได้นานหลายเดือน
2 การผลิตเกาลัดที่ปลอดภัยจากสารพิษ
2.1. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น วิธีกล วิธีการเขตกรรม วิธีชีวภาพ รวมทั้งวิธีใช้สารเคมี ทั้งนี้พยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด
2.2. หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ถ้ามีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ให้เลือกใช้ในชนิด อัตรา และระยะเวลาตามคำแนะนำ และปฏิบัติตามคู่มือวิธีการใช้อย่างเคร่งครัด
- งดใช้สารเคมีที่ขึ้นชื่อเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามใช้ทางการเกษตร ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2534 อีกทั้งใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้ได้
- ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวเกาลัดตามเวลาที่ระบุในคำแนะนำ
- บันทึกข้อมูลรายละเอียดในการใช้สารเคมีเป็นหลักฐานไว้ทุกครั้งที่มีการใช้สาร
สรุปคำแนะนำการใช้สารเคมีและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการผลิตเกาลัด
ชนิดศัตรูพืช : 1. หนอนเจาะลำต้น
ชนิดสารเคมี/การป้องกันกำจัด: พบมาในช่วงฤดูแล้ง ใช้สารในกลุ่มสะเดาฉีดพ่นให้ทั่วและกำจัดตัวเต็มวัย(ผีเสื้อกลางคืน) โดยใช้ไฟล่อแมลง
ชนิดศัตรูพืช : 2. หนอนกัดกินช่อดอก
ชนิดสารเคมี/การป้องกันกำจัด: เข้าทำลายมากช่วงระยะดอกบาน ใช้คาราเต้หรือเซฟวิน 85 อัตราตามคำแนะนำ ฉีดพ่นเมื่อพบการทำลายเสียหายมาก
Re: ปลูกต้นเกาลัด ไม้ยืนต้น วิธีการคัดพื้นที่ พันธุ์เกาลัด การใช้ปุ๋ย
มีใคร ปลูกกัน บ้าง รายงานตัว โชว์ ผลงานหน่อย ครับ
Re: ปลูกต้นเกาลัด ไม้ยืนต้น วิธีการคัดพื้นที่ พันธุ์เกาลัด การใช้ปุ๋ย
หาพื้นที่ปลูกยากหน่อย นะ สำหรับในไทย
Re: ปลูกต้นเกาลัด ไม้ยืนต้น วิธีการคัดพื้นที่ พันธุ์เกาลัด การใช้ปุ๋ย
ขอบคุณข้อมูลสาระดีๆจากกระทู้นี้ค่ะ
ผู้ใช้งานขณะนี้
กำลังดูบอร์ดนี้: 2 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน