เที่ยวทะเลต้องระวัง! สัตว์ทะเลชนิดไหน? อาจทำร้ายนักท่องเที่ยว

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ท่องเที่ยว สถานที่ต่าง ๆ โรงแรมที่พัก
อาหารอร่อยๆ ร้านดี ๆ ที่ไหนที่อยากแนะนำ

Moderator: ลุงหนวด

smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

เที่ยวทะเลต้องระวัง! สัตว์ทะเลชนิดไหน? อาจทำร้ายนักท่องเที่ยว

โพสต์โดย smanpruksa » พุธ 20 เม.ย. 2022 11:05 am

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ หนึ่งจุดหมายปลายทางฮอตฮิตของนักท่องเที่ยวคือการไปพักผ่อนคลายร้อนที่ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลในแถบฝั่งอันดามัน หรือทะเลแถบชายฝั่งอ่าวไทย แต่ก็มีหลายครั้งที่พบว่า มีนักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุถูกทำร้ายจากสัตว์ทะเลจนได้รับบาดเจ็บ (หนุ่มเจอปลาเต็กเล้งพุ่งแทงคอเจ็บขณะเล่นน้ำ https://www.posttoday.com/social/local/679555) เที่ยวทะเลปีนี้ นักท่องเที่ยวควรต้องระวังสัตว์ทะเลอะไรบ้าง? แล้วจะมีวิธีการป้องกันหรือปฐมพยาบาลในเบื้องต้นอย่างไรบ้าง? สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ

สัตว์ทะเลมีพิษต้องระวัง!

1. ขนนกทะเล (Sea Feather)

ขนนกทะเลเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายพืช อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีหลายชนิด บางชนิดมีลักษณะคล้ายขนนกและบางชนิดมีลักษณะคล้ายเฟิร์น มักจะพบตามแนวปะการัง ริมชายฝั่ง หรือเสาสะพานท่าเรือ รวมถึงเศษวัสดุที่ลอยในทะเล หากผิวสัมผัสกับขนนกทะเล จะทำให้พิษแทรกเข้าสู่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน

การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงการสัมผัสขนนกทะเลโดยตรง หากถูกพิษให้ล้างผิวบริเวณนั้นด้วยแอลกอฮอล์ แล้วประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น หากมีอาการรุนแรงต้องรีบส่งแพทย์ทันที

2. ปะการัง (Coral)

ปะการังเป็นสัตว์ทะเลกลุ่มใหญ่ที่มีมากกว่า 750 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แบบเดี่ยว ปะการังบางชนิดมีหนามหรือแง่แหลมคมยื่นออกมา ซึ่งภายในจะมีพิษทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ซึ่งหากเข้าไปใกล้หรือสัมผัสโดนตรงแง่คมๆ ก็อาจทำให้ถูกพิษ และเกิดอาการบวมแดงและเป็นผื่นคันได้

การป้องกันและรักษา ไม่ควรเดินเหยียบย่ำไปบนปะการัง หรือดำน้ำผ่านแนวปะการัง เพราะหินของปะการังมีความแข็งและแหลมคมมากอาจทำให้เกิดบาดแผล นอกจากนี้ปะการังมักมีพวกแบคทีเรียอาศัยอยู่ ทำให้บาดแผลหายช้า จึงต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหรือแอลกอฮอล์โดยเร็ว และตรวจดูว่าไม่มีเศษปะการังติดค้างอยู่ ควรใส่ยาฆ่าเชื้อ และหากแผลมีขนาดกว้างและลึกควรรีบนำส่งแพทย์

3. ปะการังไฟ (Fire Coral)

ปะการังไฟเป็นสัตว์ทะเลจำพวกเดียวกับขนนกทะเลและมีพิษเช่นเดียวกัน มีรูปร่าง 3 แบบคือ แบบแผ่น แบบก้อน และแบบแขนง โดยทั่วไปมักมีสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล พบปะปนอยู่กับสัตว์อื่นในแนวปะการังทั่วไป หากสัมผัสกับปะการังไฟ จะทำให้เกิดรอยไหม้ บวมแดง และปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนังที่สัมผัส

การรักษา ให้ล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูหรือล้างด้วยอะลูมิเนียมซัลเฟต หากส่วนที่สัมผัสปะการังเป็นมือ ห้ามนำมาเช็ดหน้าหรือเข้าตาโดยเด็ดขาด เพราะพิษจากปะการังไฟที่ยังเหลืออยู่ จะทำให้เกิดการระคายเคืองได้

4. แมงกะพรุน (Jelly Fish)

แมงกะพรุนทั่วไปมีรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ ลำตัวโปร่งแสง บริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นออกมารอบปากมีเข็มพิษ ที่ใช้ฆ่าเหยื่อหรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร พิษของแมงกะพรุนจะทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นบวมแดงและเป็นรอยไหม้ปวดแสบปวดร้อน ทำให้เกิดแผลเรื้อรังได้ แมงกะพรุนบางชนิดทำให้เกิดอาหารจุก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เป็นไข้ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต

การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำทะเลบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม หรือช่วงหลังพายุฝน เพราะจะมีกระเปาะพิษของแมงกะพรุนหลุดลอยไปในน้ำทะเล หากถูกพิษของแมงกะพรุนไฟให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล และรีบไปพบแพทย์ หรือนำผักบุ้งทะเลบดแล้วพอกตรงบริวเณที่สัมผัสแมงกะพรุน จะช่วยให้อาการ บรรเทาลงได้

5. ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)

ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานยึดเกาะอยู่กับก้อนหิน ก้อนปะการัง หรือฝังตัวลงในพื้นทะเลบริเวณดินเลนหรือดินทราย หากเผลอไปสัมผัสกับหนวดของดอกไม้ทะเลซึ่งมีพิษ จะทำเกิดผื่นแดง ถ้าอาการรุนแรงมากจะทำให้บวมแดง มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน

การรักษา ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล และพยายามเอาเมือกและชิ้นส่วนของหนวดดอกไม้ทะเลออกให้หมด ถ้ามีอาการทรุดให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน

6. บุ้งทะเล (Fire worms)
บุ้งทะเลเป็นหนอนปล้องจำพวกเดียวกับแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเล แต่มีลำตัวสั้นกว่า ลำตัวของบุ้งทะเลมีขนยาวมาก ขนบุ้งเป็นเส้นแข็งและสามารถหลุดจากตัวบุ้งได้ง่าย สามารถแทงเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคันได้

การป้องกันและการรักษา ระมัดระวังไม่ให้บุ้งทะเลสัมผัสกับผิวหนัง ไม่ใช้มือเปล่าหยิบจับบุ้งทะเล หากสัมผัสโดนบุ้งทะเล ให้หยิบขนบุ้งออกให้หมด แล้วใช้ครีมหรือคาลาไมน์ทาเพื่อบรรเทาอาการคันและป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดตามมาได้

7. เพรียงหิน (Rock Barnacle)

เพรียงหินเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับกุ้งและปู อาศัยอยู่ตามโขดหิน เสาสะพานท่าเรือ หลักโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ ฟาร์มหอยนางรม หรืออาจพบอยู่บนสัตว์มีเปลือก เช่น หอย แมงดาทะเล ปู เป็นต้น เพรียงหินเป็นสัตว์ที่พบบ่อยและพบชุกชุมตามริมชายฝั่งทะเลทั่วไป

การป้องกันและรักษา ระวังเปลือกที่แหลมคมของเพรียงหิน เมื่อเดินไปตามโขดหินหรือเมื่อดำน้ำเก็บหอยแมลงภู่ หากถูกเพรียงหินบาดให้ทำความสะอาดบาดแผลและใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาแดง หากเสียเลือดมากให้นำส่งแพทย์เพื่อเย็บบาดแผลทันที

วางแผนท่องเที่ยวปีนี้ (6 เคล็ดลับวางแผนเที่ยว https://www.smk.co.th/newsdetail/1676) จะเดินทางคนเดียวหรือท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะก็คุ้มครองคุณทุกการเดินทาง ประกันภัยการเดินทาง คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 24 ชั่วโมงตลอดระยะเวลาเดินทาง เบี้ยเริ่มต้น 16 บาท สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 53 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน