เกิดเหตุเพลิงไหม้ต้องทำอย่างไร...ตั้งสติได้ก่อน ปลอดภัยกว่า

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

เกิดเหตุเพลิงไหม้ต้องทำอย่างไร...ตั้งสติได้ก่อน ปลอดภัยกว่า

โพสต์โดย smanpruksa » พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:48 pm

หนึ่งในภัยภิบัติที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนได้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น “อัคคีภัย” ที่สามารถเผาผลาญทุกอย่างให้เสียหายลงได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง เห็นได้จากเหตุเพลิงไหม้ล่าสุดภายในอาคารไม้ของตลาดยิ่งเจริญ ย่านสะพานใหม่ ที่สร้างความเสียหายให้กับแผงร้านค้าไปไม่น้อยกว่า 50 แผง แล้วเราควรต้องทำอย่างไร หากต้องประสบกับปัญหาอัคคีภัยโดยไม่คาดคิด

“อัคคีภัย” เกิดจากอะไรได้บ้าง?

บ่อยครั้งที่เหตุเพลิงไหม้ หรือ อัคคีภัยมักเกิดจากความประมาทของมนุษย์และการมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจบานปลายจนกลายเป็นเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อัคคีภัยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่

1. เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร เป็นผลมาจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานจนเกิดความร้อนสะสม หรือการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงหลายชนิดในสายเดียวกัน ทำให้สายไฟจะเกิดความร้อนสูงจนละลาย ส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้

2. เพลิงไหม้จากก๊าซหุงต้มรั่วไหล โดยเฉพาะการอุ่นอาหารทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล หรือวางวัสดุที่ติดไฟง่ายใกล้เตาแก๊ส อาจทำให้ไฟไหม้ลุกลามได้

3. เพลิงไหม้จากความประมาท ทั้งจากตัวเราเองหรือบุคคลภายนอก โดยต้นเพลิงอาจเป็นก้นบุหรี่ที่ยังดับไม่สนิท หรือกระถางธูปเชิงเทียนที่เป็นวัสดุติดไฟง่าย รวมไปถึงการเผาขยะในที่โล่งจนทำให้เหตุลุกลามบานปลาย

10 วิธีหนีไฟ รู้ไว้ปลอดภัยกว่า

ข้อมูลจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุถึงวิธีป้องกันตัวจากเหตุอัคคีภัยที่ประชาชนทุกคนควรศึกษาไว้และนำไปปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง ดังนี้

1. ก่อนเข้าพักอาศัยในอาคารต่าง ๆ ควรสอบถามความพร้อมของอุปกรณ์ความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ เช่น เครื่องป้องกันควันไฟ อุปกรณ์ฉีดน้ำอัตโนมัติบนเพดาน รวมถึงอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยจากเหตุไฟไหม้ และการหนีไฟ ของสถานที่นั้น ๆ

2. ตรวจสอบทางหนีไฟฉุกเฉินที่ใกล้ห้องพักที่สุด รวมถึงตรวจสอบประตูหนีไฟต้องไม่ปิดล็อค หรือสิ่งกีดขวาง โดยให้นับจำนวนประตูห้องทั้งสองทาง (ซ้าย-ขวา) จนถึงทางหนีไฟ ซึ่งจะทำให้ถึงทางหนีไฟฉุกเฉินได้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับ หรือปกคลุมไปด้วยควัน

3. เรียนรู้ และฝึกการเดินภายในห้องพักเข้าหาประตู วางกุญแจห้องพักและไฟฉายใกล้กับเตียงนอน หากเกิดไฟไหม้จะได้นำกุญแจห้องและไฟฉายไปด้วย อย่าเสียเวลากับการเก็บสิ่งของ

4. หาตำแหน่งสัญญาณเตือนไฟไหม้ เปิดสัญญาณเตือนไฟไหม้หากหาพบ จากนั้นหนีออกจากอาคาร แล้วโทรศัพท์เรียกหน่วยดับเพลิง

5. ให้หนีลงจากอาคารทันที หากได้ยินเสียงสัญญาณไฟไหม้ อย่าเสียเวลาตรวจสอบว่าไฟไหม้ที่ใด

6. ถ้าไฟไหม้ห้องพัก ให้หนีออกมา แล้วปิดประตูห้องทันที จากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลอาคาร และโทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิงโดยเร็ว

7. ถ้าไฟไม่ได้เกิดที่ห้องพัก ให้หนีออกจากห้อง โดยวางมือบนประตู หากประตูมีความเย็นอยู่ ค่อยๆ เปิดประตู แล้วหนีไปยังทางหนีไฟฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

8. หากประตูมีความร้อน อย่าเปิดประตู เพื่อป้องกันตนเองจากเปลวไฟภายนอก แต่ให้รีบโทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิง เพื่อแจ้งตำแหน่งของตัวเอง และหาผ้าเช็ดตัวเปียกๆ ปิดช่องประตู หรือทางเข้าของควัน ปิดพัดลม และเครื่องปรับอากาศ แล้วเปิดหน้าต่าง พร้อมส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือที่หน้าต่าง หรือชานอาคาร คอยความช่วยเหลือ

9. คลานให้ต่ำหากต้องเผชิญหน้ากับควันไฟ เมื่อควันปกคลุม อากาศบริสุทธิ์จะอยู่ด้านต่ำของพื้นห้อง ควรหาถุงพลาสติกตักเอาอากาศบริสุทธิ์ครอบศีรษะ จากนั้นคลานหนีไปยังทางหนีไฟฉุกเฉิน พร้อมนำกุญแจห้องไปด้วย หากหมดหนทางหนีจะได้สามารถกลับเข้าห้องพัก และขอความช่วยเหลือทางอื่นต่อไป

10. อย่าใช้ลิฟท์ขณะเกิดไฟไหม้ ให้ใช้บันไดภายในอาคาร เนื่องจากลิฟท์อาจหยุดทำงานที่ชั้นเกิดเหตุ

สิ่งที่สำคัญเมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคือการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ และตั้งสติกับเหตุการณ์ตรงหน้า แล้วจึงค่อยๆ หาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด เพราะหลายครั้งที่โศกนาฏกรรม และ ความเสียหายจากเหตุอัคคีภัยมักเกิดขึ้นจากความตื่นตกใจของผู้คนมากเสียเป็นส่วนใหญ่

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 71 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน