โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มาพร้อมกับฤดูฝนมีอะไรบ้าง?

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มาพร้อมกับฤดูฝนมีอะไรบ้าง?

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 15 พ.ย. 2021 4:39 pm

“โรคผื่นผิวหนังอักเสบ” เป็นกลุ่มโรคทางผิวหนังประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ความอับชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น สภาพพื้นที่เปียกแฉะหรือแม้กระทั่งแมลงหลากหลายชนิดที่แพร่พันธุ์ได้เป็นอย่างดีในช่วงหน้าฝน ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มโอกาสให้เกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบได้ทั้งสิ้น สินมั่นคงประกันสุขภาพ รวบรวมกลุ่มโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนมาฝาก

[size=large]1. ผื่นภูมิแพ้[/size]

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) มักพบการเกิดโรคเเพร่หลายมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นโรคที่มักมีอาการกำเริบเมื่ออุณหภูมิและความชื้นในอากาศเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงระยะแรกจะมีผื่นแดงและตุ่มน้ำใส ต่อมาเมื่อตุ่มน้ำใสแห้งลง จะมีตุ่มแดงเพิ่มขึ้นมาพร้อมกับอาการผิวหนังแห้งลอกเป็นขุย และอาการคัน โดยมักพบการเกิดผื่นภูมิแพ้ที่บริเวณแก้ม ข้อพับต่างๆ แขน ขา และซอกคอ

[size=large]2. ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา[/size]

โรคกลาก (Ring Worm) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) เนื่องจากเชื้อราชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดินจึงทำให้เกิดการติดต่อโรคได้โดยง่ายทั้งในคนและสัตว์ ไม่ว่าจะติดเชื้อจากพื้นดิน จากการสัมผัสคนและสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ที่เป็นโรค อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรคกลากจะพบการเกิดโรคได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย เเต่อาจพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้ที่มีเหงื่อออกมาก หรือผู้ที่มีผิวหนังอับชื้นได้ง่ายและมีพฤติกรรมสวมใส่เสื้อผ้าหมักหมม

โรคกลากสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน ขา เล็บมือ เล็บเท้า รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ก้น มือ และเท้า ลักษณะเป็นผื่นคันรูปวงแหวนสีแดง ลอกเป็นขุย มักลุกลามมีขนาดกว้างขึ้นเรื่อยๆ อาจมีตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำพุพองร่วมด้วย มีอาการอักเสบร่วมกับอาการคัน

โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) เป็นโรคผิวหนังที่มีสาเหตุจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่โดยปกติแล้วจะพบบนผิวหนังชั้นนอกของมนุษย์โดยทั่วไปเรียกว่า “มาลาสซีเซีย” (Malassezia) แต่เชื้อดังกล่าวจะก่อให้เกิดโรคเกลื้อนได้ก็ต่อเมื่อถูกปัจจัยกระตุ้นจนเป็นเหตุให้มีปริมาณเชื้อราข้างต้นเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการไม่รักษาสุขอนามัยแต่อย่างใด เช่น สภาพอากาศร้อนชื้น สภาพผิวมัน เหงื่อไคลที่ออกมากเกินไป หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ทั้งนี้ โรคเกลื้อนเป็นโรคผิวหนังชนิดที่ไม่ติดต่อไปยังผู้อื่นแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะมีเชื้อรามาลาสซีเซียอยู่บนผิวหนังอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม โรคเกลื้อนสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เนื่องจากเป็นวัยที่ต่อมไขมันทำงานมาก ตลอดจนกลุ่มผู้ที่มีผิวมันผิดปกติ หรือกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ทำให้เกิดเหงื่อมาก จะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะของโรคเกลื้อน คือ มีผื่นราบสีขาว สีดำ หรือสีน้ำตาลแดง เมื่อขูดบริเวณผื่นจะมีลักษณะลอกเป็นขุยละเอียด อาจมีอาการคันร่วมด้วยเมื่อเหงื่อออก มักเกิดผื่นโรคเกลื้อนขึ้นในบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หน้า ต้นคอ หน้าอก หลัง หากไม่ได้รับการรักษา ผื่นดังกล่าวจะสามารถรวมตัวกันและขยายเป็นดวงใหญ่ขึ้นได้

[size=large]3. ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส[/size]

โรคผื่นกุหลาบ (Pityriasis Rosea) เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส พบเเพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝน จะเกิดอาการผื่นคันสีชมพู หรือสีน้ำตาลขนาดเล็กๆ ปรากฏขึ้นเฉียบพลันบริเวณลำคอ ลำตัว หรือแขนขา ร่วมกับอาการไข้ ปวดหัว และปวดเมื่อยนำมาก่อนเกิดอาการจากโรคผื่นกุหลาบ

อย่างไรก็ตาม ผื่นคันจากโรคผื่นกุหลายเป็นโรคผิวหนังที่ไม่ติดต่อ ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้เสียชีวิต มักพบในกลุ่มผู้ป่วยช่วงอายุ 10-35 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มักหายจากโรคนี้ได้เอง โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดใดภายในประมาณ 6-9 สัปดาห์ และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

[size=large]4. ผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด[/size]

การแช่อยู่ในพื้นที่เปียกแฉะเป็นเวลานาน หรือการสวมใส่เครื่องแต่งกายอับชื้นอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่บริเวณผิวหนังชั้นนอกในบริเวณอับชื้นของร่างกายซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า ซึ่ง “โรคเท้าเหม็น” (Pitted Keratolysis) นับเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดลักษณะเป็นผื่นแดงแห้ง เป็นรู ดูชื้นแฉะ มักไม่มีอาการคัน แต่มีอาจมีผิวหนังลอก มีกลิ่นเหม็น บางรายอาจมีอาการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

[size=large]5. ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง[/size]

ภาวะที่ผิวหนังมีการอักเสบหลังจากการถูกแมลงกัดหรือต่อย มักเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของแมลงชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยุง ริ้น ไร เห็บ หมัด หรือด้วงก้นกระดก ซึ่งภาวะผิวหนังอักเสบข้างต้น มักจะเกิดขึ้นหลังการสัมผัสพิษจากสารคัดหลั่ง หรือถูกแมลงกัดต่อย โดยจะเกิดตุ่มนูน ตุ่มน้ำ ตุ่มแข็ง หรือจุดแดงบวมขึ้นที่ผิวหนังในลักษณะเรียงตัวแบบกระจาย

อาการผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus Dermatitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากแมลงชนิดหนึ่งที่รู้จักในชื่อ “แมลงก้นกระดก” โดยมีลักษณะลำตัวยาวเป็นปล้องประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ไล่สีลำตัวจากสีส้มอมน้ำตาล (สีน้ำตาลไหม้) และมีสีดำในช่วงปลาย มีหนวดสั้น และขา 3 คู่ เคลื่อนที่ว่องไว บินได้เร็ว และพบบ่อยในช่วงฤดูฝน

สารพิษในตัวของด้วงกระดกมีชื่อว่า “พีเดอริน” มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ทำลายเนื้อเยื่อได้ พบความเข้มข้นของสารพิษดังกล่าวในด้วงกระดกตัวเมียมากกว่าตัวผู้ เมื่อผู้ที่โดนสารพิษจากการที่แมลงก้นกระดกมาเกาะ หรือถูกบี้จนสารคัดหลั่งกระจายตัวโดนผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นไหม้สีแดงเป็นทางยาว และต่อมา 2-3 วัน จะเปลี่ยนเป็นตุ่มพองน้ำใส ไม่คันมาก แต่จะมีอาการแสบร้อน ทั้งนี้ จะมีอาการรุนแรงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณพิษที่ได้รับจากแมลงก้นกระดก และอาการจะไม่ได้เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับพิษ แต่จะเริ่มมีอาการประมาณ 8-12 ชั่วโมง หลังจากการสัมผัสกับพิษพีเดอริน

โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน สามารถรักษาได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจสร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจก่อให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนังรุนแรงได้ เลือก “ประกันสุขภาพคุ้มค่า” หรือ “ประกันสุขภาพเอกซ์ตรา” ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จ่ายค่ารักษาตามจริง เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จำกัดจำนวนครั้งให้วุ่นวาย ด้วยวงเงินสูงสุด 500,000 บาท เบี้ยเริ่มต้นเพียง 5,000 บาท/ปี คลิก https://www.smk.co.th/prehealth

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 59 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน