มะเร็งช่องท้องเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? ใครเสี่ยงบ้าง?

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

มะเร็งช่องท้องเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? ใครเสี่ยงบ้าง?

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 01 ส.ค. 2022 3:40 pm

“โรคมะเร็ง” เป็นภัยเงียบร้ายแรงที่มักมีสาเหตุมาจากการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบของผู้คนในสังคมเมือง และมักเกิดขึ้นในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เราอาจไม่คาดคิด รวมไปถึง “มะเร็งในช่องท้อง” ที่เมื่อลุกลามเข้าสู่มะเร็งระยะสุดท้าย ก็อาจสายเกินที่จะรักษาหรือเยียวยาได้ แล้ว “มะเร็งช่องท้อง” มีสาเหตุเกิดจากอะไร? มีอาการสำคัญอย่างไรที่บ่งชี้ภาวะของโรค และมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดโรค สินมั่นคงประกันสุขภาพ มีข้อมูลมาฝากค่ะ

[size=large]ช่องท้องคือบริเวณส่วนใดของร่างกาย?[/size]

ในทางการแพทย์ คำว่า ท้อง หรือ ช่องท้อง คือ ช่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ด้านหน้าของลำตัว เริ่มส่วนบนตั้งแต่ ลิ้นปี่ และกะบังลม ลงไปจนต่อกับส่วนบนของ อุ้งเชิงกราน /ท้องน้อย, ด้านหน้าสุดคือ ผนังหน้าท้องซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ปกคลุมภายนอกสุดด้วยผิวหนัง, ด้านหลังสุด เป็นกล้ามเนื้อหลัง กระดูกสันหลัง ที่ปกคลุมด้วยผิวหนังเช่นกัน (ไขมันหน้าท้องเกิดจากอะไร https://www.smk.co.th/newsdetail/275) โดยทั่วไปช่องท้องจะแบ่งออกเป็น 2 ช่อง ได้แก่

1. ช่องท้องด้านหน้า ที่ห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เยื่อบุช่องท้องที่ทำหน้าที่เป็นถุงขนาดใหญ่เพื่อช่วยพยุงอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง เรียกช่องนี้ว่า ช่องเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneal cavity) อวัยวะที่อยู่ในบริเวณนี้ ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่

2. ช่องที่อยู่ด้านหลังโดยอยู่นอกเยื่อบุช่องท้อง เรียกว่า โพรงหลังเยื่อบุช่องท้อง (Retroperitoneal space)โดยมีอวัยวะ คือ ไต ท่อไต ต่อมหมวกไต ลำไส้เล็กส่วนบน ตับอ่อน หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ และต่อมน้ำเหลืองรอบๆหลอดเลือด

ทั้งนี้ ช่องท้องทั้งสองจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน เมื่อเกิดโรคจึงมักจะมีอาการและการลุกลามของโลกที่ต่างกัน

[size=large]มะเร็งในช่องท้อง เกิดขึ้นที่ส่วนไหนได้บ้าง?[/size]

มะเร็งในช่องท้องของผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดที่ กระเพาะอาหาร (Gastric cancer) และเกิดขึ้นเป็นอันดับที่ 5 ของโรคมะเร็ง ทั้งหมด และถือเป็น สาเหตุการตายอันดับที่ 3 จากการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะ เมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเกิดการกระจายตัวไปยังต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้องได้ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด และรังไข่

สำหรับประเทศไทย มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 6 ในผู้ชายและอันดับที่ 9 ในผู้หญิง แต่ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยในคนไทยแต่ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทย มักถูกพบในระยะสุดท้ายและไม่สามารถรักษาได้ทัน

[size=large]มะเร็งในช่องท้อง มีอาการอย่างไรบ้าง?[/size]

มะเร็งช่องท้อง เป็นโรคที่มักไม่พบอาการในระยะแรก แต่จะทราบอาการป่วยก็ต่อเมื่อเกิดอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะใกล้เคียง มักพบไม่บ่อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบและการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักอนามัย

ในช่วงแรกของมะเร็งในช่องท้องมักเกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร จากการที่เซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารชั้นในมีการแบ่งจำนวนมากขึ้น อย่างผิดปกติ และลุกลามมาถึงผนังกระเพาะชั้นนอกแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณกระเพาะ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา เมื่อมะเร็งมีขนาด ใหญ่ขึ้น จะเกิดการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้อีก

เมื่อระยะของโรคมีการพัฒนาขึ้น ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะ แต่จะสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

• รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
• ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
• คลื่นไส้เล็กน้อย
• ไม่อยากรับประทานอาหาร
• มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น อาจมีอาการดังต่อไปนี้

• รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
• มีเลือดปนในอุจจาระ
• อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
• น้ำหนักตัวลดลง
• ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
• อ่อนเพลีย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งในช่องท้องหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้

1. อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
2. เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
3. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
4. เชื้อชาติ พบในคนเอเชียได้มากกว่าชนชาติผิวขาวกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา
5. อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักและผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้
6. การติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
7. เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูงขึ้น
8. อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น
9. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
10. ภาวะอ้วน ผู้ชายที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น แต่ในเพศหญิงยังไม่มีหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างความอ้วนกับการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การซื้อประกันภัยโรคมะเร็งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงทางการเงิน ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยบริษัทจะจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก ประกันภัยโรคมะเร็ง จากสินมั่นคงประกันภัย ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้คุณได้ดูแลคนที่คุณรักได้อย่างเต็มที่ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเรื่องราวความรู้และข้อมูลดีๆ ได้ที่ SMK Blog https://smkinsurance.blogspot.com/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 21 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน