มะเร็งลำไส้มีอาการอย่างไร? สาเหตุ และวิธีรักษา

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

มะเร็งลำไส้มีอาการอย่างไร? สาเหตุ และวิธีรักษา

โพสต์โดย smanpruksa » พฤหัสฯ. 22 ก.ย. 2022 2:09 pm

ด้วยภาวะที่เร่งรีบในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้คนในสังคมเมืองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่ออาการป่วยได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคมะเร็ง” ที่ก่อให้เกิดอัตราเสียชีวิตของคนไทยเป็นจำนวนมากและคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของคนไทย (มะเร็งช่องท้องเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? ใครเสี่ยงบ้าง? https://www.smk.co.th/newsdetail/2925) แล้วมีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึงอาการของโรคมะเร็งลำไส้ และมีวิธีป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างไรบ้าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร?

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นความผิดปกติของเซลล์ ที่ก่อตัวเป็นมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ มีความยาวเฉลี่ย 150 - 180 เซนติเมตร เกิดได้ตั้งแต่ส่วนต้นที่ติดกับลำไส้เล็ก ส่วนกลางลำไส้ ไปจนถึงส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ เช่น มีติ่งเนื้อเล็กๆ เกิดขึ้นภายในลำไส้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถพบได้ในอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยส่วนมากมักมีอายุระหว่าง 60-65 ปี ซึ่งกว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทราบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็มักพบในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูง ดังนั้น การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมาพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการผิดปกติเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

อาการหรือสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถสังเกตสัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย ดังนี้

• น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิม
• ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป อาจมีขนาดเล็กลง หรือมีเลือดออกมาปะปนด้วย
• ท้องผูก และท้องเสียสลับกันบ่อยผิดปกติ หรืออาจมีอาการท้องผูกเรื้อรัง
• ท้องอืด ท้องเฟ้อ บ่อยผิดปกติ และมักมีอาการปวดบริเวณท้องช่วงล่าง
• คลื่นไส้ อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เพราะเมื่อมีก้อนเนื้ออยู่ในลำไส้ การทำงานของลำไส้จะช้าลง ส่งผลให้ไม่รู้สึกหิว
• เกิดอาการอ่อนเพลียผิดปกติ เพราะการสูญเสียเลือดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้เนื่องจากเนื้องอก จะส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย ซึ่งถ้าหากเสียเลือดมากเกินไปอาจถึงขั้นช็อกได้
• โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เราปรับเปลี่ยนได้และปรับเปลี่ยนไม่ได้ ดังนี้

1. ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ ได้แก่
o อายุที่มากขึ้น โดยพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งหมด อยู่ในกลุ่มอายุ 60 – 75 ปี
o พันธุกรรม เช่น มีคนในครอบครัวที่เป็นสายเลือดเดียวกันเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะทำให้มีโอกาสเป็นมากขึ้น

2. ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
o เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภค เช่น เนื้อแปรรูปจำพวกไส้กรอก แหนม กุนเชียง ลูกชิ้น หมูยอ และเนื้อแดงที่ผ่านความร้อนสูงจำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อแกะ
o ปัจจัยเสี่ยงอื่นที่พบบ่อย เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และโรคอ้วน

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดโดยแพทย์ อาจรวมถึงการใช้นิ้วสอดเข้าตรวจทางทวารหนักด้วย แพทย์อาจพิจารณาทำการตรวจต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบเซลล์มะเร็ง และอาจมีการตรวจทางรังสีวิทยาเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินระยะของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคเป็นสำคัญ ได้แก่

1. การผ่าตัด ถือเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้นของโรคมะเร็ง โดยแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกจะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว โดยจะผ่าตัดนำลำไส้ส่วนที่เสียออกแล้วนำลำไส้ที่เหลือมาต่อกัน แต่ถ้าหากส่วนที่เป็นมะเร็งนั้นอยู่ใกล้ทวารหนักก็อาจมีการตัดทวารหนักทิ้ง และให้ผู้ป่วยใช้การอุจจาระผ่านทางหน้าท้อง จากนั้นแพทย์ก็จะทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิดจนมั่นใจว่าจะไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ถ้าหากผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 2 ขึ้นไป ก็จะเพิ่มการรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัดตามมาหลังการผ่าตัดด้วยเพื่อให้ ทำลายเซลล์มะเร็งให้หมด ไม่ให้หลงเหลือจนเกิดมะเร็งซ้ำ

2. รังสีรักษา เป็นการรักษาที่ใช้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งในบริเวณที่เกิดโรค วิธีนี้สามารถลดขนาดของก้อนเนื้อมะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็งได้เกือบทั้งหมด ทำให้สามารถผ่าตัดได้ง่ายขึ้น โดยการใช้รังสีรักษาจะทำได้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด แต่ปัจจุบันนี้แพทย์นิยมให้ใช้การรักษาด้วยรังสีก่อนการผ่าตัด เนื่องจากได้ผลที่ดีกว่า แต่การให้รังสีหลังผ่าตัดก็สามารถป้องกันการเกิดซ้ำของโรค และลดการนำลำไส้มาเปิดไว้ที่หน้าท้องได้เช่นกัน

3. เคมีบำบัด การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้ร่วมกับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยหลังจากได้รับการผ่าตัดแล้วก็จะต้องได้รับยาเคมีบำบัดเพิ่มเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาแบบนี้จะต้องเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 2 เป็นต้นไป หรือมีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ การใช้เคมีบำบัดสามารถเพิ่มโอกาสรอดของผู้ป่วยได้มากเลยทีเดียว ขณะที่ในบางรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัดก็จะกลายเป็นการรักษาหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ลดความทรมานจากมะเร็ง แต่จะไม่สามารถทำให้หายขาดได้

วิธีป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนวัยทำงาน ดังนั้น สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคนี้ได้โดยการปรับพฤติกรรมของตนเอง ดังนี้

• งดอาหารไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง
• รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
• ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง
• ตรวจสุขภาพประจำปี
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• ไม่ควรอั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรขับถ่ายทันที

ประกันภัยโรคมะเร็งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงทางการเงิน ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยบริษัทจะจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก ผู้เอาประกันภัยสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา เช่น ธรรมชาติบำบัด ชีวจิต ฯลฯ เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย สนใจรายละเอียดคลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามอ่านข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 73 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน