ผู้ป่วยโรคมะเร็ง กินเจได้หรือไม่? ผู้ป่วยมะเร็งควรกินอาหารแบบไหน?

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

ผู้ป่วยโรคมะเร็ง กินเจได้หรือไม่? ผู้ป่วยมะเร็งควรกินอาหารแบบไหน?

โพสต์โดย smanpruksa » พฤหัสฯ. 29 ก.ย. 2022 3:43 pm

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นช่วงเทศกาลสำคัญของการงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ ถือศีลกินเจ เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์และงดเว้นการฆ่าสัตว์เพื่อนำไปเป็นอาหาร โดยเทศกาลกินเจ 2565 ในปีนี้ตรงกับวันที่ 26 กันยายน - 4 ตุลาคม 2565 เป็นเวลา 9 วัน หรืออาจเริ่มล้างท้องในมื้อเย็นของวันที่ 25 กันยายน รวมเป็น 10 วัน (เทศกาลกินเจ 2565 เริ่มวันที่เท่าไร ควรเตรียมตัวอย่างไรกับเทศกาลกินเจ https://www.sanook.com/health/1429/) แล้วผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถถือศีลกินเจได้หรือไม่ มีอาหารต้องห้ามอะไรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบ้าง

[size=large]ผู้ป่วยมะเร็ง กินเจได้หรือไม่?[/size]
ในช่วงเวลา 9 วันของการกินเจ นอกจากจะได้รับบุญตามความเชื่อแล้ว ในแง่ของสุขภาพ การกินเจยังส่งผลต่อการมีสุขภาพดีด้วย เพราะช่วงเวลากินเจ ร่างกายจะสามารถขับของเสียได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ไม่มีสารพิษหรือสารก่อมะเร็งตกค้างในร่างกาย และในผักผลไม้บางชนิดยังช่วยขับสารพิษได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่ออวัยวะของเรา โดยเฉพาะ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบอย่างลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ให้สามารถทำงานได้เต็มที่กว่าตอนที่กินเนื้อสัตว์ คนที่กินเจจึงมักจะไม่ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร และระบบทางเดินอาหาร แต่เพื่อให้การกินเจส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งมากยิ่งขึ้นจำเป็นจะต้องกินเจอย่างถูกวิธี กินผลไม้ 5 สี ไม่ควรกินของทอด (กินเจทั้งทีสุขภาพดีต้องมา!! https://www.smk.co.th/newsdetail/474)

[size=large]ผู้ป่วยมะเร็ง ควรกินอะไรบ้าง?[/size]
ผู้ป่วยมะเร็งควรเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม รับประทานแต่อาหารที่ปรุงสุกและไม่ควรรับประทานอาหารเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ การได้รับประทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายระหว่างที่ได้รับการรักษา จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและสามารถตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงทำให้ต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆได้ดี ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด การฉายรังสีและยาเคมีบำบัด เช่น แผลติดเชื้อ แผลผ่าตัดหายช้า เป็นต้น

[size=large]กินอย่างไร? เมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากมะเร็ง[/size]
1. อาการเจ็บที่ปาก มีแผลในปาก เหงือก และในคอ หรือมีปัญหาการกลืน
• แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และรับประทานอาหารให้บ่อยมื้อมากขึ้น
• รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย กลืนง่าย
• รับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือตามอุณหภูมิห้อง เช่น เครื่องดื่มเย็นๆ หรือไอศกรีม
• ดื่มน้ำ หรือของเหลวจากหลอด
• ใช้ช้อนขนาดเล็กกว่าปกติ
• หลีกเลี่ยงอาหาร หรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น ส้ม มะนาว อาหารรสเผ็ดจัด เค็มจัด ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก อาหารที่ร้อนจัด

2. อาการท้องเสีย
• ดื่มน้ำสะอาด หรือของเหลวเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
• รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ ตลอดวัน เพิ่มมื้อว่าง
• รับประทานอาหารและน้ำที่อุดมไปด้วยเกลือแร่โซเดียมและโพแทสเซียม เช่น เกลือแร่ผง (ORS) โดยละลายผงเกลือแร่ตามคำแนะนำข้างสลาก และให้จิบแทนน้ำเปล่าในช่วงที่มีอาการ
• หลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากอาจทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ในขณะเจ็บป่วย ซึ่งก่อให้เกิดอาการมีลมในกระเพาะ ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง 2 - 3 สัปดาห์
• อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารมัน ของทอด ผักดิบ บรอกโคลี ข้าวโพด ถั่ว กะหล่ำปลี
ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ อาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา

3. อาการปากแห้ง
• จิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ
• เลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะนิ่ม อาหารที่มีีน้ำเป็นส่วนประกอบ อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายได้
• รับประทานอาหารว่างที่มีรสหวาน หรือ รสเปรี้ยว เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลาย (ไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีแผลบริเวณช่องปาก)
• ทาริมฝีปากด้วยลิปบาล์มหรือสีผึ้ง กรณีริมฝีปากแห้ง
• ถ้าช่องปากแห้งมาก แพทย์อาจสั่งน้ำลายเทียมให้
• หลีกเลี่ยงอาหารแห้งๆ และอาหารร้อนจัด
• งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

4. อาการเบื่ออาหาร
• รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยมื้อ และเพิ่มมื้อว่างระหว่างวัน
• พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ โดยเฉพาะในวันที่เบื่ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ โดยผู้ใหญ่แนะนำให้ดื่มน้ำ 6 - 8 แก้วต่อวัน
• ถ้าไม่อยากรับประทานอาหารหรือข้าว อาจรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม หรืออาหารทางการแพทย์ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ
• ดัดแปลงอาหารบางชนิดให้มีลักษณะที่รับประทานได้ง่ายมากขึ้น เช่น ผลไม้สดอาจทำเป็นน้ำผลไม้ปั่นผสมนมหรือผสมอาหารทางการแพทย์ เป็นต้น
• ถ้าเริ่มรับประทานอาหารได้ดี ควรเพิ่มปริมาณของอาหารแต่ละมื้อให้มากขึ้น
• ผู้ป่วยส่วนมากรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเช้าดีกว่าช่วงอื่น แต่หากรู้สึกหิวเมื่อไหร่ ก็สามารถรับประทานอาหารได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลาให้ถึงมื้ออาหาร
• การดื่มน้ำขณะรับประทานอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ดังนั้นอาจดื่มน้ำก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร 30 - 60 นาที

5. อาการรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยนไป
• เลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะและกลิ่นที่ผู้ป่วยรับได้ เช่น หากเนื้อแดงหรือปลามีกลิ่นและรสแปลกไป ให้ลองรับประทานเนื้อไก่หรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นแทน
• เพิ่มรสชาติของอาหารให้หวานขึ้น โดยการเพิ่มน้ำตาล หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำให้ผู้ป่วยจะรับรสได้ดีขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ขม หรือเปรี้ยว หรือเลือกรสชาติอาหารที่ผู้ป่วยรับได้
• เพิ่มรสชาติให้อาหาร โดยการเลือกใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพร เช่น ออริกาโน โรสแมรี่ ใบกะเพรา ใบโหรพา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือ ใส่หัวหอม รวมถึงใช้ซอสบาร์บีคิวบนเนื้อและไก่
• ใช้ช้อนส้อมพลาสติกแทน ถ้ารู้สึกว่ามีรสชาติของช้อนเหล็ก (Metallic taste) เวลารับประทานอาหาร

ประกันภัยโรคมะเร็ง อีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงทางการเงิน กรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยบริษัทจะจ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนประกัน) ทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก เพื่อเป็นเงินชดเชยรายได้ในขณะเจ็บป่วยหรือพักฟื้น ไม่จำกัดวิธีการรักษา เป็นทุนสำรองสำหรับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันภัย https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามอ่านข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 62 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน