ภูเขาไฟคืออะไร? ในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง?

พูดคุยเรื่อง ที่อยู่ ที่พักอาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนท์ ที่อยู่อาศัย กำลังจะซื้อ หรือซื้อแล้ว พูดคุยเรื่องที่อยู่ของตัวเองกันได้ที่นี่ จะปลูกต้นไม้ จัดสวน หรือการดูแล รักษาบ้านเรา ปรึกษาเพื่อนๆ ได้

Moderator: ลุงหนวด

smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

ภูเขาไฟคืออะไร? ในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง?

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 08 ส.ค. 2022 10:39 am

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้จังหวัดเชียงรายของประเทศไทยได้รับผลกระทบ และเกิดแรงสั่นสะเทอนตามมาหลายครั้ง (แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร? ป้องกันตัวอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว? https://www.smk.co.th/newsdetail/2926) และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ก็เกิดเหตุตระหนกตกใจในประเทศญี่ปุ่น ที่ “ภูเขาไฟซากุระจิมะ” ได้ปะทุขึ้นจนทำให้เกิดกลุ่มควันเถ้าถ่านขนาดใหญ่พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า และทางการญี่ปุ่นได้ประกาศเตือนภัยขั้นสูงสุด (ระดับ 5) พร้อมแนะนำประชาชนให้เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แล้วในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่บ้างหรือไม่?

[size=large]ภูเขาไฟคืออะไร?[/size]
ภูเขาไฟ (Volcano) คือ ภูเขาที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืดร้อนและแรงดันสูงภายใต้เปลือกโลก เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากหินหนืดที่ไหลขึ้นมาแข็งตัวอยู่ภายในหรือภายนอกเปลือกโลก เป็นลักษณะเดียวกับการเกิดหินอัคนี

การระเบิดของภูเขาไฟถือเป็นการปรับสภาพของเปลือกโลกให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น ฝุ่นที่ละอองซึ่งเกิดจากแรงระเบิดของภูเขาไฟจะฟุ้งกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศสตาโตสเฟียร์ทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงจากสภาวะเรือนกระจก นอกจากนี้ดินที่เกิดจากแหล่งภูเขาไฟจะเต็มไปด้วยแร่ธาตุซึ่งเหมาะสำหรับทำการเกษตร ทั้งยังทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น เพชร หรือเหล็ก ได้อีกด้วย

[size=large]ภูเขาไฟในประเทศไทย[/size]
ในประเทศไทย ภูเขาไฟส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณตอนบนของประเทศ มีการกระจายตัวและตำแหน่งที่ไม่แน่นอนอยู่ทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่าย หากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง และล้วนเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วทั้งสิ้น

จากรายงานทางธรณีวิทยาและแผนที่ทางธรณีวิทยาประเทศไทย พบบริเวณที่เป็นหินภูเขาไฟ หรือหินบะซอลต์ ซึ่งเป็นหินที่เกิดจากภูเขาไฟ อยู่ 5 บริเวณ ได้แก่

1. ภาคเหนือ ได้แก่ อำเภอแม่ทา อำเภอสบปราบ และอำเภอเมืองลำปาง ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และสุโขทัย เป็นหินบะซอลต์ ไรโอไลต์ แอนดีไซต์ และแอกโกเมอเรต (ศิลาแลง)
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากทางตอนใต้ของภาค บริเวณเขากระโดง เขาพนมรุ้ง และภูอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และทางทิศใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ
3. ภาคกลาง พบที่จังหวัดสระบุรี โคกสำโรง หล่มเก่า ท่าลี่ และทางด้านทิศตะวันตกของภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
4. ภาคตะวันตก พบที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
5. ภาคตะวันออก พบที่บ้านบ่อไร่ จังหวัดตราด บ้านบ่อพลอย จังหวัดจันทบุรี

จากการตรวจสอบหลักฐานของนักธรณีวิทยา พบว่า ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟที่ได้ระเบิดขึ้นเมื่อประมาณ 7 แสนล้านปีผ่านมาแล้ว ได้แก่

1. ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทหินทรายสีชมพูสวยงาม สร้างขึ้นบนยอดภูเขาลูกเตี้ยๆ ที่มีลักษณะเป็นปากปล่องภูเขาไฟ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานสำหรับเมืองใหญ่ในที่ราบใกล้เคียงกันชื่อเมือง วนัมรุงปุระ ในสมัยขอมเรืองอำนาจ

2. ภูเขาไฟหินหลุบ และภูเขาไฟคอก จ.บุรีรัมย์

“ภูเขาไฟหลุบ” อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ “ภูเขาไฟเขาคอก” ตั้งอยู่ในอำเภอประโคนชัย ภูเขาไฟทั้งสองแห่งนี้ เเม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็ยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาในเรื่องเกี่ยวกับภูเขาไฟของไทยได้เป็นอย่างดี

3. ภูเขาไฟอังคาร ภูพระอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ตั้งอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากภูเขาไฟพนมรุ้ง ที่ยอดเขาอังคารแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ “วัดเขาพระอังคาร” ที่มีโบสถ์ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์หลายสมัยที่สวยงามแปลกตา และภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ชม

4. ภูเขาไฟกระโดง เขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีปากปล่องทะลุเห็นได้ชัดเจน รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด บนเขากระโดงยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น

5. ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์
ซากภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่ มีสัณฐานของช่องปล่องประทุระเบิดชัดเจน เนินภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟ (Pyroclastic Materials) ซึ่งเกิดจากแรงดันของก๊าซ (Gas) ต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในหินหลอมละลาย เช่น ไอน้ำ (70.75%) คาร์บอนไดออกไซด์ (14.07%) ไฮโดรเจน (0.33%) ไนโตรเจน (5.45%) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (6.40%) ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ (1.93%) เป็นต้น เศษหินภูเขาไฟเหล่านี้เป็นมวลหินหลอมละลายที่ถูกดันประทุขึ้นไปและเย็นแข็งตัวในอากาศ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีชื่อเฉพาะเรียกแตกต่างกัน

แม้ภัยธรรมชาติจากภูเขาไฟระเบิดแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทยในยุคปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก็อาจเกิดขึ้นได้ และอาจเป็นภัยพิบัติรุนแรงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ คุ้มครองบ้านคุณด้วยประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้าน ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำ ท่วม ภัยจากแผนดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด คลื่นใต้น้ำ สีนามิ หรือภัยจากลูกเห็บ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันรักษ์บ้าน หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 50 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน