เมืองรถม้า ลำปาง ประวัติรถม้าเมืองลำปาง

ลำปาง เป็นแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า เขลางค์นคร เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า
เขลางค์ นคร
ลุงหนวด
Power Membership
Power Membership
โพสต์: 4406
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2014 12:01 pm

เมืองรถม้า ลำปาง ประวัติรถม้าเมืองลำปาง

โพสต์โดย ลุงหนวด » เสาร์ 08 ธ.ค. 2012 1:18 am

เมืองรถม้า ลำปาง ประวัติรถม้าเมืองลำปาง

..นับเวลาย้อนหลังไปในช่วง ๘๕ ปีที่แล้วหรือปี ๒๔๕๘ สมัยของเจ้าบุญวาทย์มานิตตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ในคราวนั้นการคมนาคมขนส่งทางรพยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง พาหนะชนิดเดียวที่สามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้าที่มีความเร็วในการเดินทางสูงสุด คือ รถม้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ เนื่องจากสมัยก่อนรถม้าจะนิยมใช้อยู่ในกรุงเทพฯ ในหมู่ของเจ้าขุนมูลนาย และใช้เป็นรถประจำตำแหน่งของข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก
..............ในปี ๒๔๕๘ รถยนต์ได้เข้ามามีอิทธิพลในกรุงเทพมหานคร บรรดาเจ้าขุนมูลนายต่างก็เปลี่ยนจากรถม้าหันมานิยมใช้รถยนต์ จึงขายรถม้าให้กับชาวบ้านและพวกแขกปาทาน พวกแขกปาทานได้นำรถม้ามาประกอบอาชีพรับจ้าง ประกอบกับขณะนั้นทางกรุงเทพมหานครมีรถยนต์ใช้มากขึ้นทำให้รถม้าไม่มีพื้นที่ให้วิ่งลดน้อยลง รถม้าจึงจะเริ่มอพยพรถมาขึ้นรถไฟไปยังจังหวัดเชียงใหม่ แต่เนื่องจากขณะนั้นอุโมงค์ขุนตาลยังไม่แล้วเสร็จไม่สามารถไปจังหวัดเชียงใหม่ได้ จึงเข้าทำมาหากิจรับจ้างยังนครลำปาง ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้กิจการรถม้าได้ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ต้น
เป็นระยะเวลาได้ ๓๒ ปี จึงได้มีการก่อตั้งสมาคมล้อเลื่อน ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นปีที่ขอจดทะเบียน และในปี พ.ศ.๒๔๙๒ จึงได้ใบอนุญาต โดยขุนอุทานคดี ท่านเป็นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนแรกที่ได้ร่างกฎระเบียบว่าด้วยสมาคมขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เข้ามาบริหารงานและได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็นสมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง (THE HORSE CARRIAGE IN LAMPAMG PROVINCE) และได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนที่สอง รถม้าลำปางได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง บริหารงานถือได้ว่าเป็นยุคทองของรถม้าลำปาง ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีรถม้าในลำปาง ถึง ๑๘๕ คัน ถือว่ามากที่สุดตั้งแต่ตั้งสมาคมขึ้นมา
................รถม้าในจังหวัดลำปาง เขาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Queen Victoria จะมีล้อ ๔ ล้อ เบาะหลังเป็นเก๋ง เป็นเบาะใหญ่ นั่งได้ ๒คน และม้านั่งเสริม สามารถนั่งได้อีก ๒ คน รวมแล้วรถม้าคันหนึ่ง ถ้าเป็นคนไทย หรือตัวไม่ใหญ่มาก ก็นั่งได้ 4 คน
................ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มอบเงินให้แก่เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และได้ขอรับรถม้าเข้าไว้ในความอุปถัมภ์ให้รัฐบาทช่วยเหลือสมาคมรถม้า
และตั้งกองทุนให้สมาคมรถม้าอีก 1 กองทุน ปัจจุบันรถม้าในจังหวัดลำปางมีประมาณ ๗๐ คัน และวิ่งพานักท่องเที่ยวชมเมืองได้มีจำนวน ๕๐คัน ซึ่งจะคอยให้บริการสลับสับเปลี่ยนพานักท่องเที่ยวชมเมืองทั้งกลางวันและกลางคืน การพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยีตะวันตก ส่งผลให้นครลำปางพบกับความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านตามลำดับในฐานะของมณฑลพายัพ อันประกอบด้วยนครต่าง ๆ ของภาคเหนือตอนบนความเจริญที่เห็นเด่นชันคือ การเข้ามาของรถไฟสายเหนือที่มีจุดหมายปลายทางของการเดินทางสิ้นสุดที่สถานีรถไฟแห่งนี้เปิดรับขบวนรถโดยสารครั้งแรก
................เมื่อเถลิงศก วันที่ 1เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ หรือวันปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ ใจครั้งนั้นมีรถม้าที่เรียกกันว่ารถม้าแท็กซี่คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองนครลำปางเมื่อขบวนรถไฟมาถึงสถานีรถไฟนครลำปาง ณ ตำบลสบตุ๊ย อำเภอเมืองลำปางอันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสามสายแรกในภาคเหนือของประเทศไทย และได้มีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่นาบริเวณชานเมืองมาเป็นพื้นที่เมืองอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับความเจริญที่เพิ่มทวีมากขึ้น เมื่อเส้นทางรถไฟพัฒนาด้วยการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลผ่านภูเขาและไปถึงนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ นครลำปางเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า จากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือ และลำเลียงสินค้าที่จำเป็นจากภาคเหนือมายังกรุงเทพฯ ส่งผลให้ย่านการค้าสบตุ๊ยแห่งนี้มีการพัฒนาความเจริญอย่างมากอาคารโบราณเหล่านี้ยังคงเหลือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรม ที่คงรายละเอียดของความสวยงามไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในการชมเมืองนั้น นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถม้าแท็กซี่ ที่มีสารถีสวมชุดคาวบอยร่วมสมัยแบบคลาสสิคเดอร์บลุกซ์ ยุคหนังเงียบฮอลลี่วู้ดอันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปางโดยแท้

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 41 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน